การพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 15 มีนาคม 2565

ประเภทงานวิจัย จำนวนผู้เข้าชม 636 คน 

โครงการวิจัย การพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ แหล่งทุน: กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระยะเวลา : 1 ปี (ปีงบประมาณ 2564) หัวหน้าโครงการ : ดร.พัลลภ หารุคำจา, พระครูปลัดณัฐพล จนฺทิโก, (ประชุณหะ),ดร., พระครูโกวิทอรรถวาที, ผศ.ดร., พระครูธรรมธรชัยวิชิต ชยาภินนฺโท,ดร. และนายบุญมี แก้วตา สังกัด : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ และวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้และวิเคราะห์หลักสูตรการสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างหลักสูตรการสอนศีลธรรมแบบบูรณาการในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางและขยายผลรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรการสอนศีลธรรมแบบบูรณาการในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการกับเครือข่ายครูพระสอนศีลธรรม จำนวน 25 อำเภอ ในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัย ทำให้ได้องค์ความรู้และวิเคราะห์หลักสูตรการสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ หลักสูตรเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาจะต้องสนองต่อความต้องการของสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมือง ประกอบด้วย 1.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2.หลักสูตรประกาศนียบัตรการสอนศีลธรรมในโรงเรียน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อผลิตพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในระดับประกาศนียบัตรและครูสอนวิชาพระพุทธศาสนา ให้สามารถนำความรู้ด้านการสอนศีลธรรมในโรงเรียน ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการสอนพระพุทธศาสนาและพัฒนาสังคม การพัฒนารูปแบบการสร้างหลักสูตรการสอนศีลธรรมแบบบูรณาการในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่

การพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่

การสร้างหลักสูตรแบบบูรณาการนั้นผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากความรู้เดิมผสมผสานกับประสบการณ์ใหม่ มีจำนวน 2 หลักสูตร ประกอบด้วย 1.หลักสูตรสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในหลักสูตรโรงเรียน วัดสวนดอก พุทธศักราช 2564 ชั้นประถมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2.หลักสูตรหน่วยการเรียนรู้บูรณาการเรื่องหลักธรรมเพื่อพัฒนาชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโป่งน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ แนวทางและขยายผลรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรการสอนศีลธรรมแบบบูรณาการในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ คือ 1.การถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกิจกรรมโครงการวิจัยการพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ 2.การจัดสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) วิพากษ์หลักสูตร โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิในวิพากษ์หลักสูตร ข้อค้นพบความรู้ใหม่ที่เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ คือ 1. ตัวชี้วัดองค์ความรู้ของหลักสูตรการสอนศีลธรรมในโรงเรียนจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2. การสร้างหลักสูตรการสอนศีลธรรมแบบบูรณาการที่ทันสมัย 3. การนำสื่อการสอนพัฒนาเป็นไปตามหลักสูตรประยุกต์กับหลักธรรม 4.การขยายผลรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรการสอนศีลธรรมแบบบูรณาการยุคดิจิทัล

 

 

 

 

 

 

administration / ข่าว

administration / ภาพ

ข่าวงานวิจัย