การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการสอนแบบบูรณาการของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 1 พฤศจิกายน 2564

ประเภทงานวิจัย จำนวนผู้เข้าชม 774 คน 

โครงการวิจัย การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการสอนแบบบูรณาการของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ แหล่งทุน: กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระยะเวลา : 1 ปี (ปีงบประมาณ 2564) หัวหน้าโครงการ : ดร. พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์, ดร. พลสรรค์ สิริเดชนนท์, พระครูสิริสุตานุยุต, ผศ.ดร., ดร. พรศิลป์ รัตนชูเดช และ นายจันทรัสม์ ตาปูลิง สังกัด : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ และวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน  การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ด้านสื่อและนวัตกรรมการสอนแบบบูรณาการของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการสอนแบบบูรณาการของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อนาสื่อและนวัตกรรมไปใช้ในการเรียนการสอนแบบบูรณาการของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยผสานวิธีทั้งการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กับเครือข่ายครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ โดยการลงพื้นที่ จำนวน 25 อำเภอ ในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัย ทำให้องค์ความรู้ด้านสื่อและนวัตกรรมการสอนแบบบูรณาการครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ สื่อพื้นฐานดั้งเดิมสมัยพุทธกาล สื่อธรรมชาติที่อยู่รอบตัว ได้แก่ สื่อธรรม สื่อสังคมและวัฒนธรรม สื่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สื่อภาษา สื่ออุปมาอุปมัย และสื่อนิทาน ชาดก สื่อในสมัยปัจจุบัน มี 2 รูปแบบ คือ สื่อการสอนธรรมแบบรายบุคคล และสื่อการสอนธรรมแบบกลุ่มบุคคล ซึ่งเป็นการนาองค์ความรู้ตามแนวทางการสอนของพระพุทธเจ้า พัฒนาเป็นสื่อสมัยใหม่ สื่อมีเดียที่หลากหลาย เพื่อสอนนักเรียนให้ได้รับความรู้และความเข้าใจ ตามความถนัดของตนเอง   การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการสอนแบบบูรณาการของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ มีรูปแบบการพัฒนาสื่อและนวัตกรรม แอพพลิเคชัน (Application) สื่อการ์ตูนเอนิเมชั่น บนสมาร์ทโฟน (Smart Phone)

Download แอพพลิเคชัน (Application) buddhistlearning.apk ได้ที่นี่

การบูรณาการองค์ความรู้ด้านเนื้อหาและสาระการเรียนรู้แต่ละชั้น คือ (ป.1 2 3) มารวมเป็นช่วงชั้นที่ 1 (ป.4 5 6) มารวมเป็นช่วงชั้นที่ 2 และ (ม.1 2 3) มารวมเป็นช่วงชั้นที่ 3 โดยมีองค์ประกอบของพัฒนาสื่อและนวัตกรรม ได้แก่ 1.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.ได้ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางควรรู้และต้องรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  

สื่อและนวัตกรรมการสอนแบบบูรณาการของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่

การนำสื่อและนวัตกรรมไปใช้ในการเรียนการสอนแบบบูรณาการของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ จานวน 25 อำเภอ ผลประเมินการใช้สื่อและนวัตกรรมแอพพลิเคชั่น คือ นักเรียนเกิดความสนใจ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น และนักเรียนสามารถนาองค์ความรู้มาใช้ในชีวิตได้ ระดับความเหมาะสมของสื่อและนวัตกรรมการสอนที่ได้พัฒนาขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.76, S.D. = 0.71) ประสิทธิภาพของสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.53/83.06 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ดัชนีประสิทธิผลของสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นต่อความก้าวหน้าในการเรียนรู้สูง 0.75 คิดเป็นร้อยละ 75 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 3.76, S.D. = 0.01) โดยมีแนวทางการนาไปใช้ 2 แนวทาง ดังนี้ 1) แนวทางการพัฒนารูปแบบศักยภาพด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสื่อและนวัตกรรมแอพพลิเคชั่น เพื่อเป็นแบบอย่างสื่อการสอนให้กับครูพระสอนศีลธรรมนาไปใช้สอนนักเรียนในโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ 2) แนวทางการพัฒนาศักยภาพรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการครูพระสอนศีลธรรมเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมแอพพลิเคชั่น         

 

 

 

 

 

 

administration / ข่าว

administration / ภาพ

ข่าวงานวิจัย