การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนัง “อัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มทางธรรมเนียมประเพณีล้านนาสู่งานศิลปกรรมร่วมสมัย”

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 15 มีนาคม 2565

ประเภทงานวิจัย จำนวนผู้เข้าชม 542 คน 

การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนัง “อัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มทางธรรมเนียมประเพณีล้านนาสู่งานศิลปกรรมร่วมสมัย” แหล่งทุน: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

งานวิจัยเผยแพร่ในระบบห้องสมุดงานวิจัยสำหรับสาธารณะ (EXPLORE)สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ระยะเวลา : 1 ปี (15 กันยายน 2563 15 มีนาคม 2565) หัวหน้าโครงการ : ผศ.ปฏิเวธ เสาว์คง ผู้ร่วมวิจัย: นายสุวิน มักได้ นายธีระพงษ์ จาตุมา นายอำนาจ ขัดวิชัย สังกัด : สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ที่ปรึกษาโครงการวิจัย: ผศ.ดร.สุรสิทธิ์ เสาว์คง อาจารย์วัฒนะ วัฒนาพันธุ์ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1.เพื่อสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังให้ได้องค์ความรู้ใหม่ในการรักษาผลงานจิตรกรรมฝาผนังอัตลักษณ์ลายคานาแต้มล้านนาร่วมสมัยที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนาอย่างแท้จริง 2.เพื่อจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมแบบร่วมสมัยที่มีประโยชน์ในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่สำคัญของประเทศไทยแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) องค์ความรู้หรือนวัตกรรมทางพระพุทธศาสนาที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ในวัดพระพุทธบาทสี่รอย ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผลของการศึกษา ได้เกิดการสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังในรูปแบบผลงานจิตรกรรมฝาผนังอัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มล้านนาร่วมสมัยที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนาร่วมสมัย ซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่ ในศาสนสถานสำคัญ ได้แก่ วิหารเจ้าดารารัศมี ณ วัดพระพุทธบาทสี่รอย จำนวน 2 ด้าน คือ 1. ผนังด้านข้างทิศเหนือ ขนาด 4.5 ม. x 7.5 ม. รวม 33.75 ตร.ม. 2. ผนังด้านข้างทิศใต้ ขนาด ขนาด 4.5 ม. x 7.5 ม. รวม 33.75 ตร.ม. รวมทั้งสิ้น ประมาณ 70 ตร.ม. โดยใช้เทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้จะมีการจัดวางภาพจะไม่มีช่องกันในภาพ แต่จะเป็นการรวบรวมร้อยเรียงเรื่องราวให้เป็น 1 เดียว ในเรื่องธรรมเนียมประเพณีไทยล้านนา มีเนื้อหามีความเกี่ยวเนื่องกับคัมภีร์พระเจ้าเลียบโลก เรื่องอดีตชาติพระเจ้าห้าพระองค์กับประทับรอยพระพุทธบาท การถ่ายทอดเรื่องราวธรรมเนียมประเพณี 12 เดือน ของชาวล้านนาร่วมสมัยปัจจุบัน มีการถ่ายทอดตัวละครแบบปัจจุบัน โดยการใช้เทคนิคลายคำโบราณมาผสมผสานกับศาสตร์ใหม่ทางศิลปะ และการนำเสนอลักษณะรูปแบบลายคำร่วมสมัย โดยการนำเอาการจัดวางองค์ประกอบศิลป์แบบสากลมาประยุกต์ใช้กับเทคนิคลายคำโบราณ มีการจัดวางน้ำหนักของสีพื้น เข้มอ่อน เกิดเป็นมิติของสีที่น่าสนใจ และการใช้เฉดสีทองที่มีความหลากหลาย ความเข้ม อ่อน ตื้น ลึก หนา บาง ของสีทอง ให้เกิดมิติที่น่าสนใจ เพิ่มการมองเห็นด้วยอารมณ์มีส่วนร่วม โดยการผสมผสานตำนานคติความเชื่อจากคัมภีร์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาโบราณของท้องถิ่น เรื่องพระเจ้าเลียบโลกที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องการประทับรอยพระพุทธบาท และเนื้อหาประเพณี 12 เดือนในปัจจุบัน และการนำภูมิทัศน์ของชุมชน วิถีชีวิตชุมชนมาสอดแทรก ถ่ายทอดในผลงานจิตรกรรมลายคำร่วมสมัย เพื่อให้ชุมชนตระหนักรู้รักในความสำคัญของพื้นที่ เป็นแหล่งเผยแพร่ เรียนรู้ของชุมชนต่อสาธารณะชนได้อย่างกว้างขว้าง การจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่สำคัญของประเทศไทยแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน 1 แห่ง คือ กิจกรรมถ่ายทอดงานศิลป์สู่วิถีพุทธ จำนวน 6 กิจกรรม ณ วัดพระพุทธบาทสี่รอย ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้น จึงรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำหนังสือ/คลิปวีดีโอเผยแพร่/ชุดองค์ความรู้/บทความตีพิมพ์วารสาร ของผลงานวิจัยที่จะนำเผยแพร่ต่อสถานที่สำคัญทางการศึกษา ให้ได้รับรู้ถึงนวัตกรรมใหม่ทางการศึกษาด้านศิลปะยุคใหม่

เอกสารเผยแพร่ในรูปแบบ E-Book เรื่อง อัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มทางธรรมเนียมประเพณีล้านนาสู่งานศิลปกรรมร่วมสมัย

การเผยแพร่ผลงานที่ได้จากงานวิจัยสู่สาธารณชนในด้านการวิจัยและสร้างสรรค์ ในรูปแบบภาคปฏิบัติ (Practice) และ การถอดบทเรียน (Lesson Learned) ที่มีการแบ่งปัน (Share) ในเรื่อง “พุทธจิตรกรรมลายรดนาล้านนาร่วมสมัย” โดยอาจารย์สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม ดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการวิจัย การนำองค์ความรู้ (Body of Knowledge) ที่อาจารย์สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best practice) เกี่ยวกับงานปิดทองลายรดน้ำ (ลายคำ) มาจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) แก่นิสิต โดยวิธีการอาจารย์จะถ่ายทอดความรู้โดยการสอนนิสิตสาขาวิชาพุทธศิลปกรรมแบบตัวต่อตัว (Coaching) สอนให้ดูเป็นตัวอย่าง และให้นิสิตลงมือปฏิบัติงานจริง (On the job training) โดยดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากนิสิตศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียนในสถานที่วัดจริง โดยส่งเข้าประกวดผลงานปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการความรู้ ระดับส่วนงาน “ด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์” ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านระบบ ZOOM และการจัดนิทรรศการออนไลน์ (Virtual Exhibition) ได้รับใบประกาศนียบัตรการจัดการความรู้ ประเภทด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์ ระดับ “ดีเลิศ” เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564

การจัดนิทรรศการออนไลน์ (Virtual Exhibition) สามารถเข้าชมนิทรรศการKMออนไลน์ ได้ที่ Virtual Exhibition

ท้ายที่สุดนิสิตจะสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับงานศิลปะของตนเองได้ เป็นการผสมผสานงานศิลป์ดั้งเดิมกับงานศิลป์สมัยใหม่เข้าด้วยกันเกิดเป็นศิลปะร่วมสมัย เพื่อจัดแสดงในงานศิลปนิพนธ์ ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ เป้าหมายจำนวนผู้เข้าชม 1,000 คน ติดตามวีดีทัศน์ได้ที่ องค์ความรู้ที่ได้รับเหล่านี้ นับเป็นกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมแบบร่วมสมัยที่มีประโยชน์ในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่สำคัญของประเทศไทยแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน เช่น กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสร้างพื้นที่ในการรับฟัง แลกเปลี่ยน และเรียนรู้ร่วมกัน ด้านเกิดองค์ความรู้ศิลปกรรมในล้านนาสู่การสร้างสรรค์ใหม่ ด้านระดมความคิด เพื่อแสวงหาการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมล้านนาใหม่ ด้านการทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ ด้านเวทีถอดบทเรียนกิจกรรมการสร้างสรรค์ใหม่ ทบทวนเพื่อการทำงานก้าวต่อไป ด้านการถอดบทเรียนกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจการสร้างสรรค์ศิลปกรรมล้านนาใหม่ ด้านกิจกรรมการสร้างสรรค์ศิลปกรรมล้านนาใหม่ตามวิถีชุมชน และสร้างศิลปินล้านนารุ่นใหม่ที่เกิดจากการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่นำเสนอด้านการสร้างสรรค์ใหม่ที่เกิดจากความศรัทธา และด้านสร้างศิลปินรุ่นใหม่ในโครงการวิจัย

หนังสือรับรองผลงานวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

 

 

 

 

 

 

administration / ข่าว

administration / ภาพ

ข่าวงานวิจัย